23 มกราคม 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับชีววิทยา

  เทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับชีววิทยา

 
         บทบาทของนักวิจัย

งานวิจัยมีความหมายครอบคลุมงานวิจัยชีววิทยาการแพทย์ ที่กระทำในห้องปฏิบัติการเป็นหลัก และงานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาผลของการรักษา แต่กิจกรรมวิจัยเหล่านี้ได้ปฏิบัติโดยแพทย์ส่วนน้อย อย่างไรก็ตามการทำงานวิจัยมิได้จำกัดอยู่ที่การวิจัยแบบทางการ (formal study) อีกทั้งความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้คำถามทางคลินิกจากแพทย์ที่มีใช่นักวิจัยเป็นอาชีพ สามารถถูกอ้างถึงด้วยการวิจัยแบบเฉพาะกิจ (ad hoc research) 

 ด้วย เหตุผลนี้ภารกิจของแพทย์จึงได้ถูกขยายให้ครอบคลุม การศึกษาและตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยเบื้องต้นจากฐานข้อมูล ผู้อภิปรายมองเห็นว่าการใช้เครื่องมือวิจัยอย่างเหมาะสมเป็นงานสำคัญของ แพทย์ทุกคน ตัวอย่างเช่น การจัดกลุ่มผู้รับการรักษาพยาบาล (practice's case mix), การประเมินระบาดวิทยาของโรค, การวัดประสิทธิผลของวิธีการรักษาใหม่ และการรับรองคุณภาพการรักษาพยาบาล เป็นต้น
นักวิจัยแพทย์ (physician-researcher) ต้องมีความรู้และความเข้าใจในแหล่งข้อมูล และใช้วิธีการทางทฤษฎีการตัดสินใจช่วยในการตั้งสมมุติฐานวิจัยที่สามารถทดสอบได้ กล่าวคือ นักวิจัยแพทย์ต้องเก็บรวบรวม, จัดเรียง , วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลได้ นักวิจัยแพทย์ยังควรมองเห็นคุณค่าในบทบาทสำคัญเวชสารสนเทศและการคำนวณทาง ชีววิทยาที่ในงานวิจัยชีววิทยาการแพทย์สมัยใหม่ ดังนั้นการวางรากฐานสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนบทบาทผู้วิจัย บัณฑิตแพทย์ควรมีความสามารถดังต่อไปนี้
1.    ทราบได้ว่า ข้อมูลใดเป็นประโยชน์ต่อการตั้งคำถามทางคลินิกหรือสมมติฐาน มีความสามารถย่อย ดังนี้
1.1         สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อค้นหาแหล่งข้อมูลที่มีอยู่
1.2         มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลในสถาบันประกอบวิชาชีพของบัณฑิตแพทย์ ที่สามารถเกิดประโยชน์ในการวิจัยทางคลินิก (แหล่งข้อมูลรวมถึงเวชระเบียน, ข้อมูลการอ้างสิทธิการรักษาพยาบาล ข้อมูลการเบิกค่ารักษาพยาบาล และข้อมูลที่อยู่บนสาย)
1.3         สามารถค้นหาข้อมูล ที่บำรุงรักษาโดยหน่วยงานภายนอก (เช่น กองสถิติแห่งชาติ เป็นต้น) ที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยทางคลินิก)
2.    ดำเนินการตามแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล และจัดเรียงข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ มีความสามารถ ย่อยดังนี้
2.1         เลือกเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการจัดเก็บฐานข้อมูล เพื่อการเก็บรวบรวมและจัดเรียงข้อมูล
2.2         นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เป็นประโยชน์และช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
3.    วิเคราะห์ แปลผล และรายงาน สิ่งที่พบจากการดำเนินงานวิจัย โดยมีความสามารถย่อยในการ
3.1         เลือกซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3.2         ใช้ซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐาน และการแสดงผลโดยใช้รูปกราฟฟิก
3.3         แปลผล ผลการวิเคราะห์จากซอฟต์แวร์ทางสถิติ
4.    มองเห็นคุณค่าของผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการวิจัยพื้นฐานทางชีววิทยาการแพทย์ มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เกี่ยวกับ
4.1         การอ่านรหัสพันธุกรรม และธนาคารข้อมูลพันธุกรรม
4.2         ระบบห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ
4.3         การสืบค้นบรรณานุกรมและการจัดการวารสารทางชีววิทยาการแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น